ถ้าใครบอกว่า อะโหยเต้มาพล่ามอะไรตั้งมากมาย นี่ทำเป็นกิจวัตรอยู่แล้ว ถ้าใครมีความคิดแบบนี้ ตามตำราเรียกว่าเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ ครับมาจากภาษาอังกฤษ Obsessive-compulsive disorder หรือชื่อเล่นเรียกสั้นๆ ว่า โอซีดี
ตัวอย่่างเช่น นายคนนี้

เหะ แอบเล่นมุขเดิมครับ นายคนนี้ชื่อ แจ๊ค นิโคลสัน แต่ว่าเค้าไม่ได้เป็นโอซีดีครับ โอซีดีเป็นหนึ่งในโรคทางจิตที่ดังมากในวงการฮอลลีวูด เอาโรคนี้มาทำเป็นหนังซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่นนาย แจ็ค นิโคลสัน จาก As good as it gets
เปิดปิดไฟห้ารอบ ถุงมือหนังใช้ครั้งเดียวทิ้ง สบู่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ล้างมือด้วยน้ำร้อนจัด นี่คืออาการที่เข้าข่ายโรคโอซีดีครับ
ทำไมถึงเรียกว่าย้ำคิด ย้ำทำล่ะ เป็นเพราะว่าชอบทำอะไรซ้ำๆซากๆ พูดอะไรซ้ำไปซ้ำมาหรือไง อุ้ยงี้ที่แม่ชอบบ่น กร่นด่า เราซ้ำๆซากๆ แสดงว่าแม่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ โอซีดีรึเปล่า
ถ้าขึ้นต้นด้วยคำถามแบบนี้ คำตอบคือไม่ครับโรคนี้มีรายละเอียดที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป
โรคชื่อว่าย้ำคิด ย้ำทำ แต่ที่เรามองเห็นได้คืออาการย้ำทำ เพราะว่าเห็นจะๆ ว่าทำอะไรซ้ำๆ อย่างเช่นในหนังตัวอย่างข้างบน แต่ที่บอกว่าย้ำคิด คือย้ำคิดอะไร
เคยเป็นมั้ยครับที่ออกจากบ้านจะไปทำงาน หรือไปมหาลัย เดินออกมาถึงหน้าปากซอย แล้วนึกขึ้นได้ อุ้ย เฮ้ย ลืมล็อคบ้านรึเปล่าเนี่ย เฮ้ยหรือลืมปิดแก็สรึเปล่า เพราะแอบต้มกาแฟก่อนจากบ้านตอนเช้า ไม่สบายใจๆๆๆ ต้องเดินกลับเข้าไปในซอยเช็คอีกที โอเคล็อคบ้าน ปิดแก็สเรียบร้อย ไปโรงเรียนได้แล้ว
ฟังดูปกติดีครับ คนที่อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ จะมีรู้สึกความไม่กังวลไม่สบายใจมากเกินปกติ ทำให้พอเดินออกจากซอยมาถึงปากซอยก็ยังรู้สึกไม่สบายใจอยู่เลยต้องเดินกลับเข้าบ้านไปเช็คใหม่อีกรอบนึงแล้วต้องทำแบบนี้่หลายๆครั้งถึงจะสบายใจ
สรุปคืออาการย้ำคิด คือ ย้ำคิดถึงเรื่องอันตรายที่ก่อให้เกิดความกังวลใจไม่สบายใจ (เช่น กังวลว่าอาจจะลืมล็อคบ้าน) พอมีเรื่องกังวลต้องทำอะไรให้หายกังวล (เช่นย้อนกลับไปบ้านดูว่าล็อคบ้านรึยัง)
พออาการแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ บ่อยๆ เข้าทุกวัน ก็อาจจะเริ่มจะหาวิธีืทำให้หายกังวลได้ดีขึ้น ก็เริ่มสร้างพิธีกรรมเป็นของตัวเอง เช่น ล็อคประตูสักสิบครั้งก่อนออกจากบ้าน แล้วจะรู้สึกสบายใจหายกังวล ซึ่งอาการแบบนี้่ก็ฟังดูทะแม่งๆ นะครับ แต่ลองนึกดูว่าถ้ามีเพื่อนนอนอยู่โรงพยาบาลจะผ่าตัด ไม่รู้จะเป็นหรือตาย เราก็จะรู้สึกกังวล แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไงทำให้รู้สึกหายกังวล ก็เริ่มสร้างพิธีกรรมเหมือนกันครับ เช่น ไปบนศาลเจ้าพ่อสิบแปดดัชนี สาธุ ขอให้เพื่อนลูกช้างไม่เป็นอะไรทีเถอะ เจ้าค่า เพี่ยง โอเค หายกังวลขึ้นมาหน่อยนึง หรืออาจจะเริ่มซื้อดอกไม้เก้าดอกไปถวายทุกวัน อะไรก็ว่าไปครับ ผมไม่ขอออกความเห็นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยได้จริงรึเปล่า แต่สิ่งที่ช่วยได้จริงๆ คือ เราสบายใจขึ้นนั่นเองครับ
เอ แต่ว่าถ้าคิดว่าการล็อคบ้านสิบครั้งเป็นพิธีทำความเคารพเจ้าที่เจ้าทางเพื่อให้ท่านช่วยปกป้องบ้านล่ะ ถ้างี้ถือว่าเป็นอาการย้ำคิดย้ำทำอีกรึเปล่า
อื่ม... อันนี้ต้องย้อนกลับไปตอนแรกเลยที่ผมพูดถึงว่าพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทำไมต้องดอกไม้เก้าดอก เจ็ดดอกโอเครึเปล่า ถ้าดอกเล็กถือว่าเป็นครึงดอกรึเปล่า สิ่งพวกนี้พูดยากครับว่าอันไหนเป็นโรค อันไหนไม่เป็น
แต่ว่าเป็นโรคแน่ๆครับ ถ้าเกิดว่าต้องเช็คบ้านสองชั่วโมง อาบน้ำสองชั่วโมง เช็ครถอีกสองชั่วโมงก่อนออกจากบ้าน ทุกๆวัน ถ้้าไม่ทำจะไม่สบายใจจนออกจากบ้านไม่ได้ อันนี้เป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่ช่วยวินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือไม่ เพราะว่าถ้าความไม่สบายใจมันแรงขนาดที่ต้องเตรียมตัวเป็นชั่วโมงก่อนออกจากบ้านนี่ก็ไม่ต้องทำอะไรกันพอดี ถ้าเกิดถึงขั้นนี้ต้องรับการรักษาครับ
รักษายังไงล่ะครับ การรักษาที่เวิร์คสุดคือคุยกับจิตแพทย์เพื่อการบำบัดจิตและพฤติกรรม เพราะว่าโรคนี้เกิดจากความคิดที่หมกมุ่นกับสิ่งมืด กับสิ่งอันตรายมากจนเกินไป ว่าง่ายๆ คือ ผู้ป่วยจะต้องคิดใหม่ทำใหม่นั่นเอง ผมจะกลับมาพูดเรื่องการบำบัดอีกทีเพราะว่าการบำบัดแบบคิดใหม่ทำใหม่นั้นส่วนนึงอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผมจะพูดถึงตอนหลัง คอยติดตามชมกันตอนต่อไป
นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจจะเริ่มทานยาที่มีผลทางจิต หรือว่าป่วยหนักจริงๆ หรือมีอาการกังวลที่ทำให้กินยาไม่ได้เป็นเวลานานๆ การรักษาอย่างอื่นไม่ได้ผลก็อาจจะต้องใช้วิธีช็อตไฟฟ้า ...ไม่สนุกครับ แต่ว่าเวิร์คกับผู้ป่วยบางราย
อ่านกันมาแล้วว่าเป็นโรคจิตเภทนี่ไม่สนุกเลย โรคย้ำคิดย้ำทำคนอื่นดูแล้วฮา แต่ว่าเป็นแล้วก็ทรมานไม่สนุกเหมือนกัน ร่างกายทรมานเราได้ยังไง จิตใจก็ทรมานเราได้ไม่แพ้กันครับ
โรคจิตพวกนี้เกิดจากอะไรกันล่ะ คงไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียเหมือนโรคทางกายแน่นอน ตอนหน้าดูกันครับว่าโรคจิตเกิดจากอะไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น